วันนี้ทีม KUBET จะมาไขข้อสงสัยครับว่าดาราดังๆ เขาเรียกค่าตัวกันอย่างไรในพาร์ทที่สอง ต่อจากพาร์ทที่แล้วนะครับ เราได้เล่าเกี่ยวกับวิธีการเรียกค่าตัว หรือการรับค่าตัวของดาราไป โดยพาร์ที่แล้วนั้น เราได้เล่ากันถึงการจ่ายค่าตัวก่อนการถ่ายทำ พูดถึงเรทเงินของดาราต่างๆตั้งแต่เริ่มมีชื่อเสียง ไปจนถึงระดับซุปเปอร์สตาร์กันเลย วันนี้จะมีอะไรบ้างนั้น ตามมาเลยครับ
PERFORMANCE-BASED PAY รับค่าตัวตามผลสำเร็จของหนัง
หมายถึงการได้รับส่วนแบ่งจากรายได้หนัง หลังสตูดิโอแบ่งให้โรงหนังแล้ว ในกรณีนี้ตัวนักแสดงต้องไม่รับค่าตัวตามเรทตัวเอง แต่เปลี่ยนมาทำสัญญาแบบนี้แทน
ซึ่งดาราคนแรกๆที่รับค่าตัวในลักษณะนี้ก็คือ ทอม แฮงค์ส ในสมัยที่เขารับบทนำในฟอร์เรสท์ กัมพ์ Forrest Gump ซึ่งเขาขอไม่รับค่าตัวแบบ Cash up front แต่ขอเป็นส่วนแบ่งจากหนัง20%แทน และพอ ฟอร์เรสท์ กัมพ์ ทำรายได้รวมทั่วโลกไปถึง 683 ล้านดอลลาร์ ก็ส่งผลให้ ทอม แฮงค์ส รับไปอย่างน้อย 60 ล้านดอลลาร์ สร้างสถิตินักแสดงที่เล่นหนังเพียงเรื่องเดียวรับเงินสูงที่สุดในยุคสมัยนั้น
นี่จึงเป็นหนึ่งในสัญญาเรียกค่าตัวที่ได้รับการยอมรับว่าชาญฉลาดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ฮอลลิวูดเลยทีเดียว ทอม แฮงค์ส ทำสัญญา Performance-based pay ตอนที่เขาแสดงหนังเรื่องสงครามโลกครั้งที่สองในเรื่อง Saving Private Ryan ซึ่งตอนนั้นสตูดิโอมองว่าเป็นโปรเจกต์หนังที่เสี่ยงพอสมควรว่าอาจจะไม่ทำเงิน ทอม แฮงค์ส ทำการไม่รับเงินค่าตัว20ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยกุมงบการสร้างหนังไม่ให้เกิน70ล้านดอลลาร์ และสุดท้าย Saving Privat Ryan ทำเงินไป 482ล้านดอลลาร์
ทอม แฮงค์ส จึงได้รับค่าตอบแทนกลับมาสูงถึง40ล้านดอลลาร์ ซึ่งมากกว่าเรทค่าตัวปกติที่ควรจะได้รับถึงสองเท่าเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามการทำสัญญาแบบนี้ก็มีความเสี่ยงอยู่เหมือนกัน หากว่าหนังไม่ทำเงิน ก็อาจจะทำให้นักแสดงคนนั้นทำงานโดยไม่รับเงินค่าตัวไปเลย KUBET มองว่าก็เป็นดาบสองคมนะครับ แต่ถึงอย่างไรแล้วก็ขึ้นอยู่กับความพอใจของนักแสดงคนนั้นๆที่จะเลือกทำสัญญาตามที่ตัวเองมั่นใจมากกว่า
ซึ่งก็เคยมีข่าวลืออยู่เหมือนกันว่า สมัยที่จอห์น ทราโวลตา แสดงเรื่อง Battlefield Earth เขายอมไม่รับค่าตัว20ล้านดอลลาร์ แต่ขอเป็นรับเงินส่วนแบ่ง25%จากรายได้หนังในทันทีที่หนังทำเงินเกิน50ล้านดอลลาร์ แต่เรื่องนี้กลับทำรายได้ทั่วโลกเพียง29ล้านดอลลาร์เท่านั้น เท่ากับว่าจอห์น ทราโวลตาไม่ได้รับเงินสักดอลลาร์เดียว ถึงอย่างไรการทำperformance based pay ก็ยังเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่ดี นักแสดงส่วนใหญ่จึงเลือกแบบถัดไปครับ
BACK-END DEAL ค่าตัวพร้อมส่วนแบ่งรายได้หนัง
ในกรณีที่สตูดิโอมีงบสร้างหนังอย่างจำกัด ซึ่งสัญญาแบบ Back end deal ก็คือนักแสดงจะรับค่าตัวขั้นต้นมาก่อนหนึ่งก้อน ส่วนใหญ่จะเป็นค่าจ้างที่ต่ำกว่าเรทมาตรฐานของนักแสดงคนนั้นๆ แต่นักแสดงจะได้ส่วนแบ่งรายได้หนังในภายหลัง หากหนังเรื่องนั้นทำรายได้ตามข้อตกลง
ในปัจจุบันการทำสัญญาแบบ Back end deal แทบจะเป็นสัญญามาตรฐานไปเสียแล้วสำหรับนักแสดงระดับซุปเปอร์สตาร์ ถ้าหากพูดถึงนักแสดงที่เคยทำรายได้สูงที่สุดในสัญญานี้เพียงเรื่องเดียว ต้องยกให้กับพวกเขาเหล่านี้เลย
- ทอม ครูซ จากภาพยนตร์เรื่อง Mission Impossible2 และ War of the Worlds
- วิลล์ สมิธ จากภาพยนตร์เรื่อง Men in Black 3
- บรูซ วิลลิส จากภาพยนตร์เรื่อง The Sixth Sense
ซึ่งทั้งสามคนนี้ทำรายได้จากหนังเรื่องดังกล่าวตามเงื่อนไข Back end deal คนละ100ล้านดอลลาร์ต่อเรื่อง ถือว่าเป็นสถิติสูงสุด
PAY – OR – PLAY การันตีจ่ายทุกกรณี
เชื่อว่านักแสดงจะชอบเงื่อนไขนี้แน่นอน จริงๆเงื่อนไขนี้คล้ายๆกับเงื่อนไขCash up front แต่ต่างกันตรงที่ หากสตูดิโอเกิดพับโปรเจกต์หนังเรื่องนั้นไป นักแสดงก็ยังคงรับค่าตัวตามที่ตกลงกันไว้ อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับ นิโคลัส เคจ โดยเขาได้รับค่าตัว 20 ล้านดอลลาร์เพื่อรับบทเป็นซุปเปอร์แมน ของผู้กำกับ ทิม เบอร์ตัน แต่เมื่อโปรเจกต์นี้ในปี 1998 เพราะงบสร้างหนังสูงเกินกำหนด แต่ด้วยเงื่อนไขการจ่ายค่าตัวแบบ Pay or Play ทำให้นิโคลัส เคจ ได้เงิน20ล้านดอลลาร์ไปแบบฟรีๆ
KUBET เว็บไซต์ลับความบันเทิงระดับโลก ที่นี่คุณสามารถดูข่าวบันเทิงล่าสุด ชีวิตดารา ข่าวดารา ซุบซิบดารา ฯลฯ ให้คุณได้รู้จักและติดต่อนักร้องและดาราที่คุณชื่นชอบได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงคุณสามารถอัปเดตหนังดัง ที่มาที่ไป เบื้องลึกเบื้องหลัง ของหนังหรือการ์ตูนที่คุณชื่นชอบได้ที่นี่เลย