King Kongจากพาร์ทที่แล้ว จะเห็นได้ว่าเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงอย่างเมอเรียน ซี คูเปอร์ ได้รับความเป็นธรรม แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม วันนี้KUBET จะพาไปดูความวุ่นวายที่มันยังไม่จบ จะเป็นอย่างไร ไปดูกันได้เลยครับ
ข้อตกลงระหว่างUniversal กับ Paramount
คดีระหว่าง Universal กับค่าย Paramount จบลงด้วยการยอมความภายใต้ข้อตกลงที่สองบริษัททำร่วมกันคือ Universal จะมีสิทธิ์ได้รับผลกำไรราวๆ 8-15เปอร์เซ็นต์ จากภาพยนตร์เรื่องคิงคองของค่าย Paramount รวมถึงกำไรจากยอดขายสินค้าต่างๆ แลกกับการที่ Universal ต้องยุติการสร้างหนังเรื่อง The Legend of King Kong จนกว่าจะพ้นระยะเวลา 18 เดือนหลังจากที่คิงคองของ Paramount เข้าฉาย ทางUniversal ได้ตอบรับเงื่อนไขอย่างง่ายดาย
แต่ใครจะรู้ไหมว่า ในเวลานั้นสิ่งที่Universal สนใจไม่ใช่การสร้างหนังคิงคอง แต่เป็นการกว้านซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดของคิงคองในส่วนที่ยังไม่เป็นสมบัติสาธารณะ ให้กลายมาเป็นสมบัติของทางบริษัท ซึ่งทำให้Universal ทำการซื้อลิขสิทธิ์ทั้งหมดของคิงคอง จากกองมรดกของเมอเรียน ซี คูเปอร์ ทำให้Universal มีสิทธิ์โดยสมบูรณ์ ทั้งในส่วนของชื่อ เรื่องราว และตัวละครคิงคองในส่วนที่นอกเหนือจากหนังคิงคองทั้งสองเรื่องของ RKO และคิงคองฉบับ Paramount
เปิดฉากไล่ฟ้องเครื่องหมายการคิงคอง
ในปี 1982 Universal ได้เปิดฉากฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตสินค้าต่างๆที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ และเครื่องหมายการค้าของคิงคอง และนั่นทำให้ความโชคร้ายตกไปอยู่กับบริษัทผลิตเกมสัญชาติญี่ปุ่นอย่างนินเทนโด้ ที่พึ่งจะผลิตเกมดองกี้คองออกมา โดยทาง Universal มองว่าเป็นเรื่องของเครื่องหมายการค้า เพราะเป็นการจงใจก๊อบปี้คาแรกเตอร์ และเนื้อหามาจากคิงคองที่Universal อ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของ
จอห์น เคอร์บี ทนายความของฝั่งนินเทนโดได้ปฏิเสธข้อหานี้ในชั้นศาล โดยอ้างอิงตามคดีฟ้องร้องในปี 1975 ที่ Universal เป็นผู้แถลงต่อศาลเองว่าใครๆก็สามารถใช้ประโยชน์จากคิงคองได้ หากอ้างอิงจากองค์ประกอบของนิยายที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว ดังนั้นUniversal จะมากล่าวหาว่าเกมดองกี้คอง ละเมิดลิขสิทธิ์จากสิ่งที่ตกเป็นสมบัติสาธารณะไปแล้วไม่ได้
การตัดสินชี้ชะตาของศาล
ทางศาลได้เห็นด้วยกับจอห์น เคอร์บี้ และตัดสินให้ทางนินเทนโด้เป็นผู้ชนะคดี พร้อมทั้งสั่งให้ Universal ชดใช้ค่าเสียหายให้กับนินเทนโด้เป็นเงินจำนวน 1,800,000 ดอลลาร์ โทษฐานที่Universal รู้ดีอยู่แล้วว่าตนเองไม่มีสิทธิ์ในเครื่องหมายการค้าคิงคอง เพราะคิงคองถือเป็นสมบัติสาธารณะ แต่ก็ยังตีมึนฟ้องร้องบริษัทนินเทนโด้อย่างไม่เป็นธรรม
การแพ้คดีของ Universal ในครั้งนี้ ได้กลายเป็นข่าวใหญ่ที่สร้างความอับอายให้กับ Universal เป็นอย่างมาก แถมยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานเกี่ยวกับลิขสิทธิ์คิงคองให้ชัดเจนอีกครั้งว่าใครๆ ก็สามารถสร้างสรรค์คอนเทนท์เกี่ยวกับคิงคองได้ ตราบใดที่ไม่ไปลอกเลียนแบบเนื้อหา ภาพลักษณ์และองค์ประกอบ จากภาพยนตร์เรื่องคิงคองในอดีต
KUBET สงสารก็แต่ร้านเล็กๆที่ถูกทาง Universal ฟ้องเอาค่าลิขสิทธิ์ พอถึงตาที่ทางบริษัทตัวเองโดนบ้าง นี่น่าจะไปไม่เป็นเลยนะครับ
คิงคองในปัจจุบัน
ภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับคิงคองในยุคปัจจุบัน หลายเรื่องจึงต้องพยายามใส่รายละเอียดที่มีในนิยายแต่ไม่ปรากฏในภาพยนตร์ปี 1933 ซึ่งเป็นเทคนิคที่นำมาใช้หลีกเลี่ยงความวุ่นวายเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์เรื่อง King Kong 2005 ที่ผู้กำกับปีเตอร์ แจ็กสันเพิ่มตัวละครจิมมี่และครอบครัวที่มีในนิยายแต่ไม่มีในหนังปี 1933 รวมถึงฉากต่อสู้กับแมงมุมยักษ์ที่มีในนิยายแต่ไม่มีในหนังปี 1933 เช่นกัน
ฉากต่อสู้กับแมงมุมยักษ์ได้ปรากฏอีกครั้งในภาพยนตร์เรื่อง Kong : Skull Island ฉบับปี 2017 ซึ่งหนังเรื่องนี้ยังมีอีกหนึ่งฉากที่เชื่อมโยงกับคิงคองฉบับนิยายก็คือการปรากฏของซากเรือแวนเดอเลอร์ ซึ่งเป็นเรือที่กลุ่มตัวละครนำในฉบับนิยายใช้ในการเดินทางไปยังเกาะกะโหลก แต่ในหนัง King Kong ฉบับปี 1933 เรือแวนเดอเลอร์ ถูกเปลี่ยนชื่อให้เป็นเรือ SS Venger แทน และดูเหมือนว่าภาพยนตร์คิงคองจะมีความระมัดระวังกันเป็นอย่างมากในเรื่องข้อพิพาททางทางกฎหมาย
อีกไม่นานทุกอย่างจะยิ่งผ่อนคลายมากขึ้น เพราะในปี 2029 ภาพยนตร์เรื่องคิงคองต้นฉบับและ Son of Kong ที่บริษัท RKO เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็จะมีอายุครบ 95 ปี หมายความว่าในอีก 3 ปีข้างหน้าภาพยนตร์ทั้ง 2 เรื่องนี้จะตกเป็นสมบัติสาธารณะตามนวนิยายของ Delos W. Lovelace จะทำให้ใครๆก็สามารถสร้างหนังคิงคองโดยลอกเลียนเนื้อหา ภาพ และองค์ประกอบจากคิงคองต้นฉบับโดยที่ใส่ไม่ผิดกฎหมาย
KUBET เว็บไซต์ลับความบันเทิงระดับโลก ที่นี่คุณสามารถดูข่าวบันเทิงล่าสุด ชีวิตดารา ข่าวดารา ซุบซิบดารา ฯลฯ ให้คุณได้รู้จักและติดต่อนักร้องและดาราที่คุณชื่นชอบได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงคุณสามารถอัปเดตหนังดัง ที่มาที่ไป เบื้องลึกเบื้องหลัง ของหนังหรือการ์ตูนที่คุณชื่นชอบได้ที่นี่เลย