ต่อจากพาร์ทที่แล้ว กับเรื่องของKing Kong ที่ไม่มีใครรู้เลยว่าท่ามกลางความโด่งดังมีเรื่องราวของความวุ่นวายตามมาไม่รู้จบ และความยุ่งวุ่นวายที่เกิดขึ้นจะจบอย่างไร KUBET จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อมๆกันครับ
จุดเริ่มต้นของความวุ่นวาย
ตลอดเวลาของการร่วมงานกันทางเมอเรียน ซี คูเปอร์และบริษัท RKO Radio Pictures ต่างเข้าใจมาโดยตลอดว่าตนเองคือเจ้าของลิขสิทธิ์ แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาอะไร จนเข้าสู่ในช่วงปี1960 บริษัทRKO ได้ขายสิทธิ์ตัวละครคิงคองให้กับ Universal Studios และบริษัท Tokyo ของประเทศญี่ปุ่นเพื่อไปสร้างเป็นหนัง King Kong VS Godzilla ในปี 1962 ที่เซ็นสัญญาครั้งประวัติศาสตร์นี้ไม่มีชื่อของบิดาผู้ให้กำเนิดคิงคองอย่างเมอเรียน ซี คูเปอร์ เข้ามามีส่วนได้ส่วนเสียในสัญญา
เจ้าของตัวจริงลิขสิทธิ์คิงคองเริ่มฟ้อง
นั่นทำให้เมอเรียน ซี คูเปอร์ ตัดสินใจยื่นฟ้องบริษัท RKO Pictures ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์โดยกล่าวอ้างว่าเขาเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คิงคองและเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้กับบริษัท RKO Pictures นำตัวละครนี้ไปสร้างเป็นภาพยนตร์เพียงสองเรื่องเท่านั้นคือ King Kong และ Son of Kong ในปี1933 และบริษัท RKO ไม่มีสิทธิ์ขายตัวละครคิงคองให้กับบริษัทอื่นเพื่อนำไปสร้างหนังเรื่อง King Kong VS Godzilla
หลักฐานอ่อนเกินกว่าที่จะสู้ได้
เพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อเท็จจริง ศาลจึงให้เมอเรียน ซี คูเปอร์แสดงหลักฐาน แต่ปัญหาก็คือเอกสารใบอนุญาตที่เมอเรียน ซี คูเปอร์ ออกให้กับบริษัทRKO ได้สูญหายไปทั้งหมด เหลือเพียงเอกสารชิ้นเดียวที่ใช้ยืนยันต่อศาลว่าเขาคือเจ้าของลิขสิทธิ์คิงคองก็คือ ใบอนุญาตที่เขาเคยออกให้ Delos W. Lovelace นำบทภาพยนตร์เรื่องคิงคองไปดัดแปลงเป็นนวนิยาย
แต่ท้ายที่สุดศาลมองว่าเป็นหลักฐานที่อ่อนเกินกว่าจะนำมากล่าวหาว่าบริษัท RKO Pictures ละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลจึงมีคำตัดสินให้บริษัท RKO Pictures ยังคงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คิงคองอย่างถูกต้องตามกฎหมายต่อไป
นั่นจึงทำให้ภาพยนตร์เรื่อง King Kong VS Godzilla ถูกสร้างและเข้าฉายได้อย่างราบรื่น โดยเปิดตัวครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่นเดือนมีนาคมปี 1962 และสร้างสถิติยอดขายตั๋ว 13 ล้านใบ สูงสุดตลอดกาลสำหรับหนังสัตว์ประหลาดในประเทศญี่ปุ่น ส่วนในสหรัฐอเมริกา King Kong VS Godzilla กลายเป็นหนังที่ทำเงินสูงสุดในค่าย และทางUniversal จึงทำการสร้างภาคต่อออกมาคือ King Kong Escapes ในปี 1967 ซึ่งความสำเร็จเหล่านี้ผู้ให้กำเนิดคิงคองอย่างเมอเรียน ซี คูเปอร์ ไม่มีสิทธิ์ได้ผลตอบแทนใดๆเลยแม้แต่ดอลลาร์เดียว
KUBET สงสารเมอเรียน ซี คูเปอร์นะครับ ท่ามกลางความโด่งดังและรายได้มหาศาลที่ทาง RKO ก็รู้อยู่แก่ใจว่าใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริงของคิงคอง แต่เมอเรียน ซี คูเปอร์กลับอยู่ในมุมของตัวเองนิ่งๆที่ไม่ได้รับส่วนแบ่งใดๆ จากใครเลย
ความวุ่นวายอีกระลอก
หลังประสบความสำเร็จจาก King Kong VS Godzilla และ King Kong Escapes ในปี 1975 ซิดนีย์ ไชน์เบิร์ก ประธานของบริษัท Universal Studios ได้อยากนำเรื่องคิงคองมารีเมคจึงได้ติดต่อไปยัง RKO เพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์ แต่ในช่วงเวลาเดียวกันผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ดิโน เดอ ลอเรนติสก็กำลังเจรจากับ RKO เพื่อขอซื้อลิขสิทธิ์หนังคิงคองไปรีเมคกับค่าย Paramount
สุดท้าย RKO ได้ตัดสินใจขายสิทธิ์สร้างหนังคิงคองให้กับดิโน เดอ ลอเรนติส ในราคา 200,000 ดอลลาร์ บวกกับส่วนแบ่งกำไร 10% เหตุการณ์นี้สร้างความไม่พอใจให้กับ Universal เป็นอย่างมาก เพราะในการเจรจาก่อนหน้านี้ แดเนียลตัวแทนการเจรจาของ RKO ได้ตอบตกลงแบบปากเปล่าไปแล้วว่าจะขายสิทธิ์การรีเมคภาพยนตร์คิงคอง ให้กับUniversal และทาง Universal จึงตอบโต้กลับโดยการสร้างหนังคิงคองของตัวเองออกมาในชื่อ The Legend of King Kong เพื่อท้าชนกับ King Kong ฉบับรีเมคของ Paramount
การฟ้องร้องครั้งใหม่ได้เกิดขึ้น
เรื่องนี้ได้นำมาสู่การฟ้องร้องที่วุ่นวายมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของฮอลลีวูด เมื่อRKO ฟ้องร้องยูนิเวอร์แซล ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ ส่วนยูนิเวอร์แซลก็ฟ้อง RKO ในละเมิดสัญญาปากเปล่าที่ทั้งสองบริษัททำต่อกัน ในฝั่งของดิโน เดอ ลอเรนติส และ Paramount ได้ตัดสินใจฟ้องร้องUniversal ข้อหาทำธุรกิจที่ไม่เป็นธรรม
หลักฐานที่มีน้ำหนักของUniversal
หลังการไต่สวนคดีอันวุ่นวาย Universal ก็เป็นฝ่ายที่กุมความได้เปรียบเมื่อพบว่านวนิยายเรื่องคิงคองที่เขียนโดย Delos W. Lovelace ซึ่งตีพิมพ์ก่อนที่ภาพยนตร์ต้นฉบับในปี 1933 จะเข้าฉายได้กลายเป็นสมบัติสาธารณะไปตั้งแต่ปี 1960 เพราะลิขสิทธิ์ของตัวนวนิยายได้หมดอายุโดยไม่มีการต่ออายุลิขสิทธิ์ ดังนั้นเรื่องภาพยนตร์ The Legend of King Kong ของUniversal จึงไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัท RKO เพราะดัดแปลงจากนิยายที่ตกเป็นสมบัติของสาธารณะไปแล้ว ไม่ได้รีเมคจากภาพยนตร์ปี 1933
คำกล่าวของยูนิเวอร์แซลถือว่ามีน้ำหนัก ชัดเจนและไม่อาจโต้แย้งได้ ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ยูนิเวอร์แซลเป็นฝ่ายชนะคดีพร้อมประกาศว่า King Kong ถือเป็นสมบัติสาธารณะที่ใครก็สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ตราบใดที่ไม่ไปคัดลอกเนื้อหา ภาพลักษณ์ หรือ องค์ประกอบของภาพยนตร์เรื่อง King Kong และ Son of Kong ที่ RKO เป็นเจ้าของ
ลิขสิทธิ์คิงคองได้กลับสู่เจ้าของตัวจริงอย่างเป็นธรรม
ไม่เพียงแค่นั้น ศาลยังรื้อคดีที่เมอเรียน ซี คูเปอร์ เคยฟ้อง RKO ข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เมื่อปี 1962 กลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งและกลับคำตัดสินให้เมอเรียน ซี คูเปอร์ ซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้วเป็นฝ่ายชนะคดี ทำให้สิทธิ์ในชื่อ เรื่องราว และตัวละครคิงคองกลับสู่กองมรดกของเมอเรียน ซี คูเปอร์ นับตั้งแต่นั้น ทำให้บริษัท RKO ต้องนำผลกำไรและรายได้ทั้งหมดจากค่ายลิขสิทธิ์คิงคองในอดีตที่ไม่ผ่านการยินยอมส่งคืนกองมรดกของเมอเรียน ซี คูเปอร์ ทั้งหมด ทำให้บริษัทRKO ต้องสูญเสียเงินไปจำนวนมหาศาลจากการตัดสินใจของศาลในครั้งนั้น
แม้ว่าจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่อย่างน้อยโลกและคนรุ่นหลังก็ได้รับรู้ถึงความจริงว่า ใครคือเจ้าของลิขสิทธิ์ตัวจริง เงินทุกดอลลาร์ที่เขาควรจะได้ มันได้กลับมาหาเขาหมดแล้วแม้ว่าเขาจะไม่มีชีวิตอยู่แล้วก็ตาม ดูเหมือนเรื่องราวจะจบ แต่มันจะไม่จบเพียงเท่านี้ จะเป็นอย่างไรต่อไป ติดตามได้ในพาร์ทที่สามกันเลยครับ
KUBET เว็บไซต์ลับความบันเทิงระดับโลก ที่นี่คุณสามารถดูข่าวบันเทิงล่าสุด ชีวิตดารา ข่าวดารา ซุบซิบดารา ฯลฯ ให้คุณได้รู้จักและติดต่อนักร้องและดาราที่คุณชื่นชอบได้อย่างใกล้ชิด รวมถึงคุณสามารถอัปเดตหนังดัง ที่มาที่ไป เบื้องลึกเบื้องหลัง ของหนังหรือการ์ตูนที่คุณชื่นชอบได้ที่นี่เลย